วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024

Trending

สมาชิก RSPO ลงมติรับรองมาตรฐานหลักการและเกณฑ์กำหนด (P&C) และมาตรฐานเกษตรกรรายย่อยอิสระ (ISH) ปี 2024

Share

มาตรฐาน RSPO ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสมาชิก RSPO ในการประชุมสมัชชาใหญ่ RSPO ครั้งที่ 21 (GA21) ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย หลังผ่านกระบวนการทบทวนมาตรฐานอย่างละเอียดและครอบคลุม

กรุงเทพฯ, 17 พฤศจิกายน 2567 /PRNewswire/ — หลังการประชุมสมัชชาใหญ่ประจําปีในเวทีปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RT2024) สมาชิก RSPO ได้ลงมติรับรองมาตรฐานหลักการและเกณฑ์กำหนด ปี 2024 (P&C) และมาตรฐานสําหรับ เกษตรกรรายย่อยอิสระ (ISH) ในการประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 21 ของ RSPO (GA21) การรับรองดังกล่าว ถือเป็นการเปิดบทใหม่ แห่งการบรรลุวิสัยทัศน์ของพันธมิตรระดับโลกเพื่อทําให้การผลิตปาล์มน้ำมันเกิดความยั่งยืน โดยมาตรฐาน RSPO มีจุดมุ่งหมายและข้อกําหนดบังคับสําหรับการผลิตและการจัดหาปาล์มน้ำมันที่มีความยั่งยืนผ่าน การรับรองจาก RSPO

RSPO Board of Governors at the General Assembly where the 2024 RSPO Standards was adopted.
RSPO Board of Governors at the General Assembly where the 2024 RSPO Standards was adopted.

มาตรฐาน RSPO ปี 2024 ถือเป็นพัฒนาการของการปรับปรุงข้อกําหนดเพื่อเพิ่มความชัดเจน รวมทั้งความสามารถ ในการตรวจสอบและการนําไปปฏิบัติใช้ที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับตลาด โดยไม่ได้มีการลดทอนมาตรฐานของ RSPO หลักการและกฏเกณฑ์ (P&C) ปี 2018 และมาตรฐานสําหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ (ISH) ปี 2019 ทั้งนี้ มาตรฐานที่ได้รับการปรับปรุงจะมีผลบังคับใช้หลังจากผ่านช่วงเปลี่ยนผ่าน 12 เดือน หลังการประกาศ

นอกจากนี้มาตรฐานปี 2024 ยังเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบการรับรอง RSPO ผ่านแพลตฟอร์ม prisma ซึ่งเป็นระบบใหม่ของ RSPO ที่ให้ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลรวมไปถึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับในระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้สมาชิกในการประเมินความเสี่ยง รวมทั้งมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อรองรับกับกฎระเบียบและข้อปฏฺบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การปรับปรุงที่สําคัญของมาตรฐาน RSPO ปี 2024 ได้แก่:

การปรับปรุงแนวทางในลดการตัดไม้ทําลายป่าและการคำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม: การนําแนวทางการบูรณาการพื้นที่ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์สูงและมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนสูง หรือ Integrated High Conservation Value-High Carbon Stock (HCV-HCS) มาใช้ถือเป็นหัวใจสําคัญ ของการปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าว กรอบแนวทางของตัวชี้วัดที่ปรับปรุงใหม่ช่วยเพิ่มความชัดเจนในการดําเนินงานด้าน การปกป้องระบบนิเวศที่สําคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดการพื้นที่ปลูกอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่มีการแผ้วถางป่า ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการแนะนําตัวชี้วัดใหม่เกี่ยวกับการใช้น้ำและการดึงน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้เพื่อแก้ปัญหา การขาดแคลนน้ำในอนาคต

การตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านสิทธิมนุษยชน: บริษัทต่างๆ จําเป็นต้องดําเนินการตรวจสอบอย่างรอบคอบเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อระบุผลกระทบที่มีอยู่และอาจจะเกิดขึ้นต่อการดําเนินงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ตลอดจนพัฒนาแผนปฏิบัติการเพี่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มของเกษตรกรรายย่อย: มาตรฐานสําหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ (ISH) ได้รับการ ยกระดับให้มีความชัดเจนมากขึ้นสําหรับตัวชี้วัดทั้งหมดเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มเกษตรกรรายย่อยมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานทางกายภาพที่ได้รับการรับรองเพื่อให้เข้าถึงตลาดใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้น 

ยกระดับการตรวจรับรองและความสามารถในการนําไปปฏิบัติ: มีการกำหนดแผนงานที่ชัดเจนเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แนวทางปฏิบัติด้านแรงงานอย่างมีความรับผิดชอบ และสิทธิของชุมชน ซึ่งการตรวจรับรองและการนำไปปฏิบัติที่ปรับปรุงใหม่จะช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือของกระบวนการตรวจรับรอง ทำให้สมาชิก หน่วยตรวจรับรอง และหน่วยงานรับรองระบบงาน ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กระบวนการทบทวนมาตรฐานที่ครอบคลุมทุกมิติ

"กระบวนการทบทวนมาตรฐาน RSPO ได้รับการสนับสนุนจากมุมมองเชิงลึกจากเกษตรกรรายย่อย องค์กรภาคสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้ตรวจรับรอง และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายภูมิภาคตลอดระยะเวลา 2 ปี ผมรู้สึกยินดีที่สมาชิก RSPO ลงมติให้การรับรองมาตรฐานปี 2024 ซึ่งได้พัฒนาเกณฑ์กำหนดที่ชัดเจน ครอบคลุมและปฏิบัติได้จริง สามารถตอบโจทย์ความท้าทายในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านการคุ้มครองแรงงาน หรือต่อสู้ กับการตัดไม้ทําลายป่า" นายโจเซฟ ดี’ครูซ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RSPO กล่าว

Ruth Silva ผู้อํานวยการฝ่ายการรับรองของ HCV Network ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "การให้ความสําคัญกับเกษตรกร ถือเป็นส่วนเสริมที่สําคัญของมาตรฐาน ไม่ใช่เฉพาะกับตัวชี้วัดและเกณฑ์กำหนดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการปกป้องพื้นที่ ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์สูง (HCV) หรือการไม่ทําลายป่าเท่านั้น การจัดกลุ่มตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ และการติดตามผลทําให้มองเห็นการดําเนินการในภาพรวมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะทําให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่สามารถ ตรวจสอบย้อนกลับได้ง่ายขึ้น"

นับตั้งแต่เริ่มใช้แนวทาง HCV ในเดือนพฤศจิกายน 2005 และแนวทาง HCS ในเดือนพฤศจิกายน 2018 การรับรองของ RSPO ได้ปกป้องพื้นที่ป่าซึ่งมีคุณค่าต่อการอนุรักษ์สูงและมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอน (HCS) กว่า 466,600 เฮกตาร์ ณ ปี 2023 โดยรวมแล้ว เมื่อคํานึงถึงระบบนิเวศที่สําคัญอื่นๆ การรับรองของ RSPO ได้ปกป้องและฟื้นฟูผืนป่าตลอดจนพื้นที่ที่มีคุณค่าประมาณ 646,700 เฮกตาร์ทั่วโลก รวมถึงป่าพรุเขตร้อน และพื้นที่สงวนริมชายฝั่ง

László Mathé ผู้จัดการโครงการรับรอง RSPO ของ Assurance Services International (ASI) เปิดเผยว่า "เราเน้นที่การนําไปปฏิบัติและการตรวจรับรองมาตรฐาน การทบทวนมาตรฐานที่สําคัญได้ปรับปรุงข้อกําหนดให้มีความชัดเจนขึ้น ทําให้ผู้ขอรับรองสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมากขึ้น และผู้ตรวจรับรองสามารถทำการประเมินได้ง่ายขึ้น เนื่องจากข้อความมีความชัดเจนและเป็นปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งช่วยขจัดความเข้าใจคลาดเคลื่อนบางประการที่เราในพบระหว่างการตรวจประเมิน อาทิ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (LUCA) เราสังเกตว่าเกษตรกรในบางภูมิภาคเข้าใจข้อกําหนดผิด ดังนั้นการปรับปรุงข้อกำหนดให้มีความชัดเจนมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงการพัฒนาของการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกิดขึ้นล่าสุดภายใต้กฏระเบียบ EUDR"

ตั้งแต่การเปิดตัวมาตรฐานสำหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ RSPO (ISH) ในปี 2019 มีเกษตรกรรายย่อยอิสระกว่า 40,000 ราย ใน 9 ประเทศ ได้รับการรับรอง

"ผมมีส่วนร่วมในการทบทวนมาตรฐานระหว่างการประชุมที่จาการ์ตา การทบทวนมาตรฐานครั้งนี้จะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยของเราสามารถเข้าถึงตลาดได้มากขึ้นและขยายโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ รวมทั้งช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่ผ่านการรับรอง ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นทุกปี การมีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานสำหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ (ISH) จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของตลาดที่มีต่อระบบการรับรองนี้ได้อย่างแน่นอน" นายจามาลุดดีน ผู้จัดการกลุ่มสหกรณ์เพาะปลูก Balayan Sejahtera ซึ่งเป็นสหกรณ์เกษตรกรรายย่อยในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออกของประเทศอินโดนีเซียที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO ครอบคลุมพื้นที่ 1,331 เฮกตาร์ กล่าวทิ้งท้าย

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานหลักการและกฏเกณฑ์ (P&C) และมาตรฐานสำหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ RSPO (ISH) ของ RSPO ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2024 ได้ที่นี่ 

เกี่ยวกับ RSPO:

The Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) หรือองค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน เป็นความร่วมมือระดับโลกในการทำให้ปาล์มน้ำมันเกิดความยั่งยืน RSPO ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายภาคส่วน ซึ่งรวบรวมสมาชิกจากตลอดห่วงโซ่คุณค่าปาล์มน้ำมัน ซึ่งรวมถึงผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ผู้แปรรูปและผู้ค้าน้ำมันปาล์ม ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ผู้ค้าปลีก ธนาคารและนักลงทุน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติ รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสังคมและ

การพัฒนา ในฐานะหุ้นส่วนเพื่อความก้าวหน้าและสร้างผลกระทบเชิงบวก RSPO สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระดับโลก เพื่อทำให้การผลิตและการบริโภคน้ำมันปาล์มยั่งยืน โดยสื่อสารถึงประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อสร้างแรง บันดาลใจในการเปลี่ยนแปลง กระตุ้นความร่วมมือเพื่อความก้าวหน้า และให้การรับประกันโดยการกำหนด มาตรฐานการรับรอง

RSPO จดทะเบียนเป็นสมาคมระหว่างประเทศในเมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีสำนักงานใหญ่ ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย และมีสำนักงานในจีน โคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

รูปถ่าย – https://mma.prnasia.com/media2/2556609/1000240216.jpg?p=medium600
Logo – https://mma.prnasia.com/media2/2380937/RSPO_Trademark_Logo_transparent_png_Logo.jpg?p=medium600 

Source : สมาชิก RSPO ลงมติรับรองมาตรฐานหลักการและเกณฑ์กำหนด (P&C) และมาตรฐานเกษตรกรรายย่อยอิสระ (ISH) ปี 2024

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Siam News Network.

Read more

Latest PR News