วันอังคาร, มกราคม 14, 2025

Trending

สมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติยื่นคำร้องเพิ่มเติม คัดค้านการระบุสถานะลิงแสมโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

Share

วอชิงตัน, 2 กุมภาพันธ์ 2567 /PRNewswire/ — สมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ (National Association for Biomedical Research หรือ NABR) ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์อิสระซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือ ยื่นคำร้องเพิ่มเติมต่อองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature หรือ IUCN) ในวันนี้ เพื่อคัดค้านการระบุสถานะลิงแสม (Macaca fascicularis) เป็นชนิดพันธุ์ "ใกล้สูญพันธุ์" หรือ "เปราะบาง" ภายใต้เกณฑ์การจำแนกประเภทสถานะของ IUCN

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการมาตรฐานและการร้องเรียนขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ได้รับคำร้องเบื้องต้นของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ ซึ่งคัดค้านการระบุสถานะลิงแสมเป็นชนิดพันธุ์ "ใกล้สูญพันธุ์" โดย IUCN เมื่อปี 2565 โดยคำร้องเบื้องต้นดังกล่าวนี้ของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ ซึ่งยื่นต่อ IUCN เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 สรุปว่า ข้อสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์สำหรับการระบุสถานะใกล้สูญพันธุ์นั้น "เอนเอียง" และ "มิได้อิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่"

ก่อนหน้าเดือนกรกฎาคม 2565 ลิงแสมถูกจัดอยู่ในกลุ่มชนิดพันธุ์ "เปราะบาง" โดย IUCN ต่อมาในปี 2565 IUCN แก้ไขการระบุสถานะดังกล่าวเป็น "ใกล้สูญพันธุ์" โดยอิงจากงานทบทวนทางวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์โดยแฮนเซนและคณะ 2565 (Hansen et al. 2022)1 คำร้องเพิ่มเติมโดยสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติดังกล่าวนี้ เรียกร้องให้ IUCN เพิกถอนการระบุสถานะทั้ง "ใกล้สูญพันธุ์" และ "เปราะบาง" จนกว่าจะ "มีการประเมินใหม่สำหรับลิงแสม ที่ดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอิสระอย่างแท้จริงซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทบาทการสนับสนุนสำหรับชนิดพันธุ์เป้าหมาย"

การเรียกร้องเพิ่มเติมโดยสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาตินี้เกิดขึ้นหลังจากการตีพิมพ์ล่าสุดในวารสารวานรวิทยาอเมริกัน (The American Journal of Primatology) วารสารวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ซึ่งทบทวนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการระบุสถานะการอนุรักษ์ลิงแสม2 งานตีพิมพ์ดังกล่าวนี้สรุปว่า "ไม่มีงานตีพิมพ์ที่อ้างถึงเพื่อสนับสนุนการระบุสถานะใกล้สูญพันธุ์โดย IUCN นำเสนอข้อมูลใด ๆ ที่สนับสนุนการลดลงตามข้อสันนิษฐาน และไม่มีงานใดบ่งชี้ว่าชนิดพันธุ์นี้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์"

"ทีมทบทวนทางวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ ยินดีที่ขณะนี้คณะกรรมการมาตรฐานและการร้องเรียนขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติจะทบทวนเรื่องนี้อย่างไม่มีอคติ" ดร.เรย์ ฮิลบอร์น (Dr. Ray Hilborn) นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังระดับโลกและสมาชิกทีมทบทวนทางวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ กล่าว

"จากการตีความข้อมูลผิด ซึ่งเกิดขึ้นในการประเมินปี 2565 และ 2563 เราคาดว่าคณะกรรมการมาตรฐานและการร้องเรียนของ IUCN จะเห็นพ้องกับข้อสรุปของเรา" ดร.ฮิลบอร์นกล่าวเสริม

การยื่นคำร้องเพิ่มเติมโดยสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาตินำไปสู่การเริ่มกระบวนการอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการมาตรฐานและการร้องเรียนของ IUCN ในการทบทวนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่เกี่ยวกับสถานะของชนิดพันธุ์ภายใต้ระเบียบการของ IUCN

ลิงแสมเป็นชนิดพันธุ์ที่ไม่ใช่สัตว์ฟันแทะที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุดสำหรับการพัฒนายา รวมไปถึงในการทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของยา นอกจากนี้ยังมีการใช้อย่างมากมายในการวิจัยมะเร็ง วิทยาศาสตร์ภูมิคุ้มกันวิทยา เวชศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และการวิจัยโรคทางพันธุกรรม

ลิงแสมถือเป็นชนิดพันธุ์รุกรานในหลายประเทศและภูมิภาค ทั้งฮ่องกง3 อินโดนีเซีย4,5 มอริเชียส6 ปาปัวนิวกินี7 และไทย8 เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้วที่ประเทศในเอเชียและแอฟริกาได้เพาะพันธุ์ลิงแสมหางยาวปราศจากเชื้อก่อโรคโดยจำเพาะและส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ สำหรับการวิจัยทางชีวการแพทย์ในห้องปฏิบัติการ

"คำร้องของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติและบทความปี 2566 ที่ตีพิมพ์ในวารสารวานรวิทยาอเมริกันชี้ว่าลิงแสมไม่ได้ใกล้สูญพันธุ์หรือเปราะบาง แต่เป็นชนิดพันธุ์รุกรานอย่างมากที่เจริญเติบโตในประเทศส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่" คุณแมทธิว อาร์. เบลีย์ (Matthew R. Bailey) ประธานสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ กล่าว

"เราเรียกร้องให้คณะกรรมการมาตรฐานและการร้องเรียนของ IUCN เพิกถอนการระบุสถานะที่ไม่เหมาะสมของชนิดพันธุ์นี้ว่าใกล้สูญพันธุ์หรือเปราะบาง และดำเนินการประเมินสถานะของชนิดพันธุ์นี้ใหม่โดยนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอิสระ"

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำร้องของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติได้ทางออนไลน์ที่ www.nabr.org.

เกี่ยวกับสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ

สมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ (National Association for Biomedical Research หรือ NABR) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2522 เป็นสมาคมไม่แสวงกำไรตามกฎหมายมาตรา 501(c)(6) ของสหรัฐแห่งเดียวที่มุ่งอุทิศตนเพื่อนโยบายสาธารณะที่สมเหตุสมผลสำหรับการใช้สัตว์ในการวิจัย การศึกษา และการทดลองทางชีวการแพทย์อย่างมีมนุษยธรรม สมาชิกของสมาคมฯ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัย โรงเรียนแพทย์และโรงเรียนสัตวแพทย์ โรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอน บริษัทเภสัชภัณฑ์และเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มผู้ป่วย และสมาคมวิชาการและสมาคมวิชาชีพกว่า 340 แห่ง ที่พึ่งพาการวิจัยในสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมและความรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ในระดับโลก ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับเราได้ที่ www.nabr.org

1 ดู Hansen, M. F., Ang, A., Trinh, T. T. H., Sy, E., Paramasivam, S., Ahmed, T., Dimalibot, J., Jones–Engel, L., Ruppert, N., Griffioen, C., Lwin, N.,Phiapalath, P., Gray, R., Kite, S., Doak, N., Nijman, V., Fuentes, A., & Gumert, M. D. (2022). Macaca fascicularis (ลิงแสม) (amended version of 2022 assessment (การประเมินฉบับปรับปรุงแก้ไข ปี 2565)). The IUCN Red List of Threatened Species 2022 (บัญชีแดงรายชื่อชนิดพันธุ์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของ IUCN). https://www.iucn.org/resources/conservation-tool/iucn-red-list-threatened-species

2 ดู Hilborn, R., & Smith, D. R. (2023). Is the long–tailed macaque at risk of extinction? (ลิงแสมเสี่ยงสูญพันธุ์หรือไม่) American Journal of Primatology (วารสารวานรวิทยาอเมริกัน), e23590. https://doi.org/10.1002/ajp.23590

3 https://www.afcd.gov.hk/english/conservation/con_fau/con_fau_mon/con_fau_mon_wild/con_fau_mon_wild.html

4 https://cites.org/sites/default/files/ndf_material/NDF_MEP_Indonesia_2023%20%281%29.pdf

5 https://www.researchgate.net/publication/346803479_Human_and_long-tailed_macaque_conflict_in_Central_Java_Indonesia 

6 https://link.springer.com/article/10.1007/s10764-022-00324-9

7 http://www.indopacific.org/wp-content/uploads/2017/02/papuamacaques-English-Version.pdf

8 https://www.thainationalparks.com/species/crab-eating-macaque

โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/1138543/4526597/NABR_Logo.jpg?p=medium600 

Source : สมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติยื่นคำร้องเพิ่มเติม คัดค้านการระบุสถานะลิงแสมโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Siam News Network.

Read more

Latest PR News