วันอาทิตย์, ธันวาคม 22, 2024

Trending

การประชุม COP16 ที่เป็น 'จุดเปลี่ยนสำคัญ' ปิดฉากด้วยการเร่งให้เกิดการดำเนินการและความมุ่งมั่นเพื่อต่อสู้ปัญหาการเสื่อมโทรมของที่ดินและภัยแล้ง

Share

แผนปฏิบัติการริยาดให้จุดเริ่มต้นสำหรับความร่วมมือระดับนานาชาติ

ระดมทุนได้กว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ให้แก่โครงการฟื้นฟูที่ดินและเสริมสร้างความสามารถรับมือภัยแล้ง

ความร่วมมือระดับโลกที่ริยาดเพื่อความสามารถรับมือภัยแล้ง ระดมความร่วมมือให้เกิดการดำเนินการระดับนานาชาติ

ริยาด, ซาอุดีอาระเบีย, 14 ธันวาคม 2567 /PRNewswire/ — การประชุม COP16 ภายใต้การเป็นประธานของซาอุดีอาระเบียได้กลายเป็นการประชุมที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (UNCCD) โดยมีการระดมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในช่วงระยะเวลาที่สำคัญ เพื่อต่อสู้กับปัญหาการเสื่อมโทรมของที่ดิน การแปรสภาพเป็นทะเลทราย และภัยแล้ง ในการประชุม COP16 ที่จัดขึ้นในริยาดครั้งนี้ มีการประกาศความร่วมมือระดับนานาชาติครั้งสำคัญเพื่อยกระดับความพยายามในการฟื้นฟูที่ดินและสร้างความสามารถรับมือกับภัยแล้ง ขณะเดียวกันก็เพิ่มความตระหนักรู้ทั่วโลกต่อวิกฤตการณ์โลกที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมโทรมของที่ดินอย่างต่อเนื่อง

Turning Point’ COP16 Concluding with Accelerated Action and Ambition to Fight Land Degradation and Drought
Turning Point’ COP16 Concluding with Accelerated Action and Ambition to Fight Land Degradation and Drought

 

ระหว่างการประชุมครั้งสำคัญของ UN ครั้งนี้ ซาอุดีอาระเบียในฐานะประธาน UNCCD COP16 ได้เปิดตัวแผนปฏิบัติการริยาด (Riyadh Action Agenda) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสนับสนุน การเข้ามามีส่วนร่วม และการดำเนินการที่ยั่งยืนเพื่อสร้างความสามารถในการรับมือภัยแล้งและการฟื้นฟูสภาพที่ดิน โดยแผนนี้ได้เริ่มต้นความร่วมมือกับโครงการริเริ่มใหม่ ๆ และที่มีอยู่แล้วมากกว่า 100 โครงการแล้ว

นโยบายที่เป็นลำดับความสำคัญในช่วงดำรงตำแหน่งประธานการประชุม COP16 ของซาอุดีอาระเบียภายใต้กรอบ UNCCD จะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมกับประเทศต่าง ๆ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงการริเริ่มที่มีอยู่เดิมซึ่งสนับสนุนการดำเนินการระดับโลกเพื่อจัดการปัญหาการเสื่อมโทรมของที่ดิน การแปรสภาพเป็นทะเลทราย และภัยแล้ง หรือไม่ก็สนับสนุนผลักดันโครงการริเริ่มใหม่ ๆ

"แผนปฏิบัติการริยาดสามารถสร้างแรงกระตุ้นให้กับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลกได้แล้ว อย่างไรก็ตาม การประชุม COP16 ที่ริยาดเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของผลกระทบที่แผนนี้จะสร้างขึ้น และซาอุดีอาระเบียในตำแหน่งประธาน COP16 จะยังคงมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน ตั้งแต่ชุมชนการลงทุน NGO นักวิทยาศาสตร์ ไปจนถึงชนพื้นเมืองและเกษตรกร เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดได้อย่างยั่งยืนทั่วโลก" ดร. Osama Faqeeha รัฐมนตรีช่วยว่าการด้านสิ่งแวดล้อม สังกัดกระทรวงสิ่งแวดล้อม น้ำ และการเกษตร และที่ปรึกษาประธานการประชุม UNCCD COP16 กล่าว

Ibrahim Thiaw เลขาธิการบริหารของ UNCCD กล่าวว่า "เราขอขอบคุณราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียเป็นอย่างสูง ที่ได้เป็นเจ้าภาพการประชุม UNCCD COP ครั้งแรกในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขที่สร้างสรรค์และแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำระดับภูมิภาคในประเด็นที่เกี่ยวกับที่ดินและภัยแล้ง การประชุม COP16 สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมลงทะเบียนได้กว่า 24,000 คน และจัดงานกว่า 600 กิจกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการซึ่งเป็นครั้งแรกที่ให้ผู้มีบทบาทนอกภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมในงานของอนุสัญญานี้"

การจัดงาน COP16 ในริยาด สามารถระดมทุนได้มากกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ จากองค์กรสำคัญระหว่างประเทศ ซึ่งยิ่งตอกย้ำบทบาทของสถาบันการเงินและภาคเอกชนในการต่อสู้กับปัญหาการเสื่อมโทรมของที่ดิน การแปรสภาพเป็นทะเลทราย และภัยแล้ง ในส่วนของแผนปฏิบัติการริยาด ได้มีการเปิดตัวความร่วมมือระดับโลกที่ริยาดเพื่อความสามารถรับมือภัยแล้ง (Riyadh Global Drought Resilience Partnership) ซึ่งสามารถระดมทุนได้แล้วกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเสริมความสามารถรับมือต่อภัยแล้ง และจะดำเนินการร่วมกับ UNCCD ประเทศต่างๆ องค์กรระหว่างประเทศ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ โดยมุ่งเป้าหมายไปยัง 80 ประเทศที่เสี่ยงต่อผลกระทบจากภัยแล้งที่สุด

"ความร่วมมือระดับโลกนี้จะดำเนินการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อวิธีการจัดการภัยแล้งทั่วโลก ด้วยการใช้ประโยชน์จากแรงผลักดันร่วมของสถาบันระดับโลกที่สำคัญ โครงการนี้จะยกระดับการจัดการภัยแล้งให้เหนือกว่าการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์แบบเฉพาะหน้า ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบเตือนภัยล่วงหน้า การจัดหาเงินทุน การประเมินความเปราะบาง และการลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง นี่ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการต่อสู้กับภัยแล้งระดับนานาชาติ และเราขอเรียกร้องให้ประเทศ บริษัท องค์กร นักวิทยาศาสตร์ NGO สถาบันการเงิน และชุมชนต่าง ๆ เข้าร่วมความร่วมมือครั้งสำคัญนี้" ดร. Faqeeha เสริม 

ทั้งนี้ มีการจัดงาน 7 วันตามหัวข้อสำคัญ ในพื้นที่โซนสีเขียว (Green Zone) และโซนสีน้ำเงิน (Blue Zone) เพื่อกระตุ้นการดำเนินการของทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย วันดิน (Land Day) วันระบบอาหารเกษตร (Agri-food System Day) วันธรรมาภิบาล (Governance Day) วันประชาชน (People’s Day) วันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Science, Technology and Innovation Day) วันแห่งความสามารถรับมือภัยธรรมชาติ (Resilience Day) และวันการเงิน (Finance Day) โดยทั้งสองโซนมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 57,000 คน และจัดกิจกรรม การสนทนา และการอภิปรายนับพันรายการ

การประกาศข่าวสำคัญในช่วงจัดงานวันหัวข้อเหล่านี้ ได้แก่ การเปิดตัวโครงการ REMDY ของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม AI สำหรับประเมินความอุดมสมบูรณ์และคุณภาพของดิน ในส่วนของแผนปฏิบัติการริยาด ซาอุดีอาระเบียในฐานะประธานได้ประกาศเปิดตัวโครงการริเริ่มเพื่อติดตามพายุทรายและฝุ่นในระดับนานาชาติ เพื่อขยายระบบเตือนภัยล่วงหน้าทั่วโลก ระบบให้คำแนะนำและประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับพายุทรายและฝุ่น (Sand and Dust Storm Warning Advisory and Assessment System: SDS-WAS) ซึ่งประจำอยู่ในเมืองเจดดาห์ ได้เพิ่มจำนวนของศูนย์ที่เชื่อมโยงกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ทั่วโลกเป็นสี่แห่ง นอกจากนี้ ซาอุดีอาระเบียยังให้คำมั่นว่าจะมอบทุน 10 ล้านดอลลาร์ในช่วงห้าปีข้างหน้า เพื่อเสริมประสิทธิภาพระบบเตือนภัยล่วงหน้าในประเทศต่าง ๆ ที่ในปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจติดตามการเกิดพายุทรายและฝุ่นได้

ทั้งนี้ ตลอดการประชุม COP16 ในริยาด UNCCD ได้เผยแพร่เอกสารและรายงานสำคัญหลายฉบับที่เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนที่ต้องจัดการกับปัญหาการเสื่อมโทรมของที่ดิน การแปรสภาพเป็นทะเลทราย และภัยแล้ง รายงานการประเมินความเสี่ยงทางการเงินของ UNCCD ระบุว่ายังคงขาดแคลนเงินทุนสำหรับการฟื้นฟูที่ดินและสร้างความสามารถรับมือกับภัยแล้งถึง 2.78 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี รายงานนี้ยังย้ำถึงความจำเป็นที่ภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ UNCCD ยังเผยแพร่รายงานที่สำคัญเกี่ยวกับพื้นที่แห้งแล้งที่ขยายพื้นที่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยค้นพบว่าสามในสี่ของพื้นที่บนโลกแห้งแล้งลงอย่างถาวรในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา

"ตั้งแต่ปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารและน้ำ ไปจนถึงความขัดแย้งและการอพยพย้ายถิ่น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าปัญหาการเสื่อมโทรมของที่ดิน ภัยแล้ง และการแปรสภาพเป็นทะเลทราย กำลังผลักดันให้เกิดวิกฤตการณ์โลกที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนบนโลกของเรา การประชุม COP16 ที่ริยาดเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเพิ่มความตระหนักรู้ของนานาประเทศให้เข้าใจความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งฟื้นฟูที่ดินและสร้างความสามารถรับมือกับภัยแล้ง" ที่ปรึกษาประธานการประชุม COP16 กล่าว

"ตลอดการประชุม COP16 ในริยาด ทำให้ผมเกิดกำลังใจจากการสนทนาอย่างตรงไปตรงมาและกล้าหาญที่เกิดขึ้นในงานนี้ ผมหวังว่าประชาคมโลกจะเปลี่ยนสิ่งนี้ให้เป็นการปฏิบัติ ตำแหน่งประธาน COP16 ของซาอุดีอาระเบียเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น เรามุ่งมั่นที่จะเพิ่มระดับการเข้าไปส่วนร่วมกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในไม่กี่ปีข้างหน้าที่กำลังจะมาถึง เพื่อระดมทรัพยากรระดับโลก เสริมสร้างความร่วมมือ และที่สำคัญที่สุดคือเพื่อการฟื้นฟูที่ดิน" ดร. Faqeeha เสริม

เกี่ยวกับการประชุม COP16 ที่ริยาด

การประชุม UNCCD COP16 มีขึ้นระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม 2567 ที่ Boulevard Riyadh City ประเทศซาอุดีอาระเบีย การประชุมภายใต้หัวข้อ Our Land. Our Future จะเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีของ UNCCD และมีเป้าหมายให้เกิดการดำเนินการพหุภาคีในประเด็นสำคัญ เช่น ความสามารถรับมือภัยแล้ง การถือครองที่ดิน และพายุทรายและฝุ่น 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ UNCCD COP16 หรือลงทะเบียนแสดงความสนใจเข้าร่วม Green Zone ได้ที่ UNCCDCOP16.org 

รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2580239/UNCCD_COP16.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/2556588/5076034/UNCCD_COP16__Logo.jpg

 

Source : การประชุม COP16 ที่เป็น 'จุดเปลี่ยนสำคัญ' ปิดฉากด้วยการเร่งให้เกิดการดำเนินการและความมุ่งมั่นเพื่อต่อสู้ปัญหาการเสื่อมโทรมของที่ดินและภัยแล้ง

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Siam News Network.

Read more

Latest PR News