วันอังคาร, มกราคม 14, 2025

Trending

การประชุมสัมมนา RSPO เรียกร้องแนวทางใหม่ให้กล้าเปลี่ยนแปลงเพื่อปฏิรูปปาล์มน้ำมันสู่ความยั่งยืน

Share

ในการประชุม RT2024 ได้มีการจัดตั้งพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ครั้งใหม่เพื่อจัดการปัญหาตัดไม้ทำลายป่า เพิ่มการมีส่วนร่วมของเกษตรกรรายย่อยด้วยโปรแกรมการปรับตัวที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate-smart programmes) และขับเคลื่อนความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก RSPO ทั่วโลก

กรุงเทพฯ, 11 พฤศจิกายน 2567 /PRNewswire/ — การประชุมสัมมนาว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (Roundtable on Sustainable Palm Oil: RSPO) ซึ่งต่อยอดจากผลงานที่สร้างการเปลี่ยนแปลงสำคัญมากว่าสองทศวรรษ ได้เรียกร้องความพยายามร่วมกันเพื่อขยายขอบเขตนวัตกรรมและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปและเชิงระบบในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันยั่งยืน การประชุมสัมมนาประจำปีของ RSPO (RT2024) จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11 ถึง 13 พฤศจิกายน โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อมในการนำมาตรฐาน RSPO 2024 ไปปฏิบัติ

Kimasha (Kim) Williams, Manager, Communications - Europe RSPO; Piya Suri, Deputy Managing Director Commercial Excellence, GGC; Belinda Bowling, HCV Network Global Director, Joseph (JD) D'Cruz, CEO RSPO, Yen Hun Sung, Director, Standards and Sustainability RSPO.
Kimasha (Kim) Williams, Manager, Communications – Europe RSPO; Piya Suri, Deputy Managing Director Commercial Excellence, GGC; Belinda Bowling, HCV Network Global Director, Joseph (JD) D’Cruz, CEO RSPO, Yen Hun Sung, Director, Standards and Sustainability RSPO.

มาตรฐานฉบับปรับปรุงใหม่นี้ ประกอบด้วยหลักการและเกณฑ์กำหนดปี 2567 (2024 Principles & Criteria หรือ P&C) และ มาตรฐานเกษตรกรรายย่อยอิสระปี 2567 (2024 Independent Smallholder หรือ ISH Standard) ที่จะช่วยเพิ่มความชัดเจน ของความสามารถในการตรวจสอบและนำไปใช้ให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงช่วยจัดการปัญหาที่เกี่ยวกับตลาดและการกำกับดูแล โดยเน้นที่การจัดการปัญหาตัดไม้ทำลายป่า การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบคอบ และการให้เกษตรกรรายย่อยเข้ามาส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก 

ในการกล่าวปาฐกถาพิเศษ Teoh Cheng Hai เลขาธิการคนแรกของ RSPO กล่าวถึงความสำเร็จของ RSPO ในการเป็นมาตรฐานชั้นนำระดับโลกสำหรับการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในปัจจุบัน โดยเน้นความสำคัญของการจับมือเป็นพันธมิตรเชิงนวัตกรรมให้เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ผลักดัน RSPO ให้เป็นผู้กำหนดมาตรฐานชั้นนำระดับโลกที่สามารถขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืนให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติปี 2573

Joseph D’Cruz ซีอีโอของ RSPO ได้ย้ำในคำกล่าวเปิดงานว่า RSPO มีความพร้อมอย่างดีที่จะตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมนี้ในอนาคต โดยกล่าวว่า "ด้วยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของเรา RSPO พร้อมที่จะเผชิญกับอนาคต 20 ปีข้างหน้าด้วยมาตรฐานที่เสริมให้แข็งแกร่งขึ้น ระบบตรวจสอบที่พัฒนาดีขึ้น และกระบวนการรับรอง การค้า และการตรวจสอบย้อนกลับด้วยระบบดิจิทัลแบบครบวงจรที่ขับเคลื่อนบนฐานของข้อมูล"

เขายังเสริมว่า เราได้เสริมความแข็งแกร่งในการผสานมาตรฐานที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ให้เข้ากับระบบการรับรอง  ผ่านแพลตฟอร์มการรับรอง การค้า และการตรวจสอบย้อนกลับของ RSPO ที่ชื่อว่า "prisma" ซึ่งย่อมาจาก Palm Resource Information and Sustainability Management (การจัดการข้อมูลทรัพยากรปาล์มและความยั่งยืน) ที่งาน RT2024 ผู้เข้าร่วมได้ชมการสาธิตการทำงานของแพลตฟอร์ม prisma ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้บริการข้อมูลดิจิทัลและการตรวจสอบย้อนกลับในห่วงโซ่อุปทาน และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนเพื่อให้สมาชิกเสริมประสิทธิภาพให้การประเมินความเสี่ยงและการตรวจสอบความรอบคอบ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านกฎระเบียบที่เกิดขึ้นใหม่

นอกจากนี้ RT2024 ยังเป็นเวทีที่แสดงถึงความน่าเชื่อถือและการเข้าถึงในฐานะองค์กรด้านความยั่งยืนระดับโลกของ RSPO โดยในงานได้มีการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์หลายรายการที่ออกแบบมาเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจในการผลิตและการค้าปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรองความยั่งยืน (CSPO)

ส่งเสริมการปกป้องพื้นที่ที่มีคุณค่าการอนุรักษ์สูงเพื่อความยั่งยืนของน้ำมันปาล์ม

ในการประชุม RT2024 ครั้งนี้ RSPO และเครือข่ายการอนุรักษ์ที่มีมูลค่าสูง (High Conservation Value Network: HCVN) ได้สานต่อความร่วมมือที่มีมาอย่างยาวนานเพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดและแนวทางใหม่ ๆ ในการปกป้องพื้นที่ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์สูง (HCV) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน RSPO ที่ปรับปรุงใหม่ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อภารกิจในการปกป้องพื้นที่ป่าที่มีคุณค่าการอนุรักษ์สูง และพื้นที่กักเก็บคาร์บอนในปริมาณสูง (HCS) ในเขตพื้นที่น้ำมันปาล์มที่ยั่งยืนร่วมกัน บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะช่วยเสริมสร้างการปกป้องระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และพื้นที่สำคัญต่อชุมชนชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น

"HCVN จะร่วมมือกับ RSPO อย่างต่อเนื่องเพื่อบูรณาการการปกป้องพื้นที่ที่มีคุณค่าการอนุรักษ์สูงเข้ากับแนวทางการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนในพื้นที่เพาะปลูกน้ำมันปาล์ม โดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ด้วยการให้ความสำคัญกับคุณค่าการอนุรักษ์ให้เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มยั่งยืน" Belinda Bowling ผู้อำนวยการทั่วโลกของเครือข่าย HCV กล่าว

ณ ปี 2566 การรับรองมาตรฐาน RSPO ได้ปกป้องพื้นที่ป่าที่มีคุณค่าการอนุรักษ์สูงและกักเก็บคาร์บอนสูงมากกว่า 466,600 เฮกตาร์ นับตั้งแต่ที่นำแนวทาง HCV มาใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2548 และแนวทาง HCS ในเดือนพฤศจิกายน 2561

โดยรวม การรับรองมาตรฐาน RSPO ได้ปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่ป่าและอื่น ๆ ที่มีคุณค่าประมาณ 646,700 เฮกตาร์ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่พรุเขตร้อนและพื้นที่อนุรักษ์ริมน้ำ

ผสานการลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในการรับรองเกษตรกรรายย่อยอิสระของ RSPO 

การรับรองเกษตรกรรายย่อยของ RSPO เติบโตอย่างมากในทั่วโลก โดยในปี 2566 มีเกษตรกรรายย่อยอิสระกว่า 40,000 รายที่ได้รับการรับรอง เพิ่มขึ้น 11,268 รายจากปี 2565 และปัจจุบันได้ขยายการรับรองไปยังโคลอมเบีย เอกวาดอร์ และฮอนดูรัส

ด้วยความตระหนักถึงบทบาทสำคัญของเกษตรกรรายย่อยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากการผลิตน้ำมันปาล์ม RSPO จึงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับบริษัท Global Green Chemicals Public Company Limited (GGC) และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยจะบูรณาการการลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศเข้าสู่การรับรอง RSPO ผ่านโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SPOPP CLIMA) ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก GGC บริษัทชั้นนำในประเทศไทยที่มุ่งมั่นเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

ความร่วมมือดังกล่าวมุ่งเน้นส่งเสริมการทำเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ และรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับทะลายปาล์มสดเพื่อวัดการปล่อยก๊าซ และพัฒนากลยุทธ์การลดการปล่อยก๊าซให้สอดคล้องกับแนวทางขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ของประเทศไทย

นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัทโกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "GGC ได้ทำงานร่วมกับ GIZ และ RSPO เพื่อสนับสนุนเกษตรกรปาล์มน้ำมันของเราในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและคาร์บอนฟุต พริ้นท์ เป้าหมายของเราคือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 20% ภายในปี 2573 และบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 พร้อมกับส่งเสริมการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2568 การร่วมมือกันนี้จะไม่เพียงลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรกรรม แต่ยังเสริมสร้างความยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม และส่งเสริมภาพลักษณ์อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยในตลาดโลก"

นอกจากนี้ โครงการนี้จะพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับเกษตรกร และสร้างแปลงสาธิตเพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวปฏิบัติทำการเกษตรคาร์บอนต่ำที่เหมาะสม ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา การนำมาตรฐาน RSPO ไปดำเนินการช่วยหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสม (~2 ล้านเมตริกตัน CO2e) ซึ่งเทียบเท่ากับการขับขี่ยานพาหนะโดยสาร 468,864 คันตลอดทั้งปี

ในการลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ดร. ถาวร ทันใจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้เกียรติเป็นสักขีพยาน และกล่าวในฐานะผู้แทนศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้ยกย่องบทบาทของ RSPO ในการสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยผู้มีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทย ในช่วงห้าปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การประชุมสัมมนาครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นในไทย ที่ได้มีการเสริมความแข็งแกร่งในฐานะผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่อันดับสามของโลก ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันร้อยละ 85 เป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีมากกว่า 400,000 ครัวเรือน โดยมีสัดส่วนของเกษตรกรรายย่อยอิสระที่เป็นผู้หญิงที่ได้รับการรับรองจาก RSPO สูงที่สุดในโลกถึงร้อยละ 42  เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ร้อยละ 28

การรับรอง RSPO คงเติบโตขับเคลื่อนการจัดหาและการบริโภคอย่างต่อเนื่อง

ณ ปี 2566 พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรองจาก RSPO มีพื้นที่ 5.2 ล้านเฮกตาร์ใน 23 ประเทศ ส่วนโรงงานระดับกลางน้ำและปลายน้ำที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานการรับรองห่วงโซ่อุปทาน (SCC) ของ RSPO มีจำนวน 6,907 แห่งทั่วโลก

การจัดหาน้ำมันปาล์มที่ผ่านการรับรอง CSPO มาถึงจุดสูงสุดใหม่ที่ 16.1 ล้านเมตริกตัน แสดงถึงการผลิตที่เติบโตขึ้น 4.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง CSPO เพิ่มขึ้นเป็น 9.8 ล้านเมตริกตัน ที่แสดงถึงการใช้ผลิตภัณฑ์แปรรูป (downstream usage) ที่เพิ่มขึ้น 7.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา การเติบโตของการบริโภคได้รับการสนับสนุนจากกรอบความรับผิดชอบร่วมกัน (SR) ของ RSPO ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนสมาชิกด้านการรายงานการปฏิบัติตาม ตามที่กำหนดให้มีนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการให้คำมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมายการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองในแต่ละปี โดยผู้แปรรูปและผู้ค้า ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค และผู้ค้าปลีกมากกว่าครึ่งบรรลุเป้าหมายการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง CSPO ในปี 2566 และเพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยอิสระ สมาชิก RSPO ในกลุ่มปลายน้ำได้ซื้อเครดิต ISH จำนวน 261,792 เครดิต มูลค่า 7.0 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2566 (เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 1.53 ล้านเหรียญสหรัฐ) และมอบประโยชน์โดยตรงแก่กลุ่ม ISH ที่ได้รับการรับรอง 85 กลุ่ม

ผู้ประกอบการปลายน้ำจากประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่อันดับสองของโลกมีบทบาทสำคัญในการประชุม RT2024 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นโยบายที่เกิดขึ้นใหม่ในจีนได้กำหนดให้ผู้จัดหามุ่งสู่การจัดหาน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืน ส่งผลให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มที่ยั่งยืนมากขึ้นในตลาดจีน โดยในเดือนพฤศจิกายน Inner Mongolia Yili Industrial Group (Yili Group) ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตภัณฑ์จากนมรายใหญ่ที่สุด 5 อันดับแรกของโลก และ Yihai Kerry ซึ่งเป็นผู้ค้าปาล์มน้ำมันชั้นนำของจีน ได้เปิดตัวการจัดส่งน้ำมันปาล์มที่ได้รับรอง CSPO ของ RSPO ครั้งแรกในประเทศ ซึ่งในล็อตแรกประกอบด้วยน้ำมันปาล์มที่ได้รับรอง CSPO จำนวน 750 ตันที่ผ่านการรับรองภายใต้โมเดลห่วงโซ่อุปทาน Identity Preserved (IP) ซึ่งรักษาแหล่งที่มาที่ผ่านรับรองซึ่งสามารถระบุได้เพียงแหล่งเดียว ซึ่งถูกแยกออกจากน้ำมันปาล์มทั่วไปตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นในการจัดหาน้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรอง CSPO สู่ประเทศจีนเพิ่มเติม ในการประชุม RT2024 ทาง Yili Group ได้ลงนามในข้อตกลงการจัดหาอย่างยั่งยืนเพิ่มเติม กับ Yihai Kerry และผู้ค้าระหว่างประเทศรายใหญ่อีกสองราย คือ Bunge และ Cargill เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการสร้างห่วงโซ่มูลค่าสีเขียวระดับโลกให้แก่น้ำมันปาล์ม

การประชุมครั้งนี้ยังได้จัดงานมอบรางวัล RSPO Excellence Awards โดยมีสมาชิก RSPO สิบห้ารายได้รับการเสนอชื่อจากผลงานดีเด่นด้านน้ำมันปาล์มยั่งยืน โดยผู้ชนะรางวัลมีดังนี้ World Association of Zoos and Accreditation สำหรับ Innovation, Hacienda La Cabaña S.A สำหรับ Conservation Leadership วิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (ท่าชนะ-ไชยา) สำหรับ Smallholder Impact และ Ferrero Trading Luxembourg S.A and Chester Zoo  สำหรับ Communicating for Good; สุดท้าย Proctor and Gamble สำหรับ Shared Responsibility ชมรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ได้รับรางวัล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ และการริเริ่มที่ควรค่าแก่รางวัลของพวกเขาได้ที่นี่ 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานและผลงานสำคัญของเรา สามารถดูข้อมูลสรุป RSPO Impact ได้ที่นี่

เกี่ยวกับ RSPO:
The Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) หรือองค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน เป็นความร่วมมือระดับโลกในการทำให้น้ำมันปาล์มมีความยั่งยืน RSPO ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายภาคส่วน ซึ่งรวบรวมสมาชิกจากตลอดห่วงโซ่คุณค่าน้ำมันปาล์ม ซึ่งรวมถึงผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ผู้แปรรูปและผู้ค้าน้ำมันปาล์ม ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ผู้ค้าปลีก ธนาคารและนักลงทุน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านสิ่งแวดล้อมหรือการอนุรักษ์ธรรมชาติ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสังคมหรือการพัฒนา

ในฐานะหุ้นส่วนเพื่อความก้าวหน้าและผลกระทบเชิงบวก RSPO สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระดับโลกเพื่อทำให้การผลิตและการบริโภคน้ำมันปาล์มยั่งยืน โดยสื่อสารถึงประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลง กระตุ้นความร่วมมือเพื่อความก้าวหน้า และให้การรับประกันโดยการกำหนดมาตรฐานการรับรอง

RSPO จดทะเบียนเป็นสมาคมระหว่างประเทศในเมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีสำนักงานใหญ่ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย และมีสำนักงานในจีน โคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

รูปถ่าย – https://mma.prnasia.com/media2/2554094/Press_Conference.jpg?p=medium600 

Source : การประชุมสัมมนา RSPO เรียกร้องแนวทางใหม่ให้กล้าเปลี่ยนแปลงเพื่อปฏิรูปปาล์มน้ำมันสู่ความยั่งยืน

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Siam News Network.

Read more

Latest PR News