ซานย่า, จีน, 4 ธันวาคม 2567 /PRNewswire/ — ในการประชุมเชิงวิชาการว่าด้วยความร่วมมือทางทะเลและธรรมาภิบาลมหาสมุทรระดับโลกครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์ความร่วมมือทางทะเลและธรรมาภิบาลมหาสมุทรหัวหยาง สถาบันแห่งชาติเพื่อการศึกษาทะเลจีนใต้ มูลนิธิพัฒนามหาสมุทรของจีน และสถาบันวิจัยท่าเรือการค้าเสรีไหหนาน บรรดาวิทยากรต่างแสดงความคิดเห็นอันหลากหลายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยในทะเลจีนใต้ Dang Dinh Quy อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเวียดนาม เชื่อว่าทะเลจีนใต้กำลังเผชิญกับความท้าทายพื้นฐาน อาทิ การอ้างสิทธิทางทะเลที่เกินเลยและยุทธาภิวัฒน์ รวมถึงความท้าทายอื่น ๆ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) รวมถึงมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ประเทศต่าง ๆ รอบทะเลจีนใต้จำเป็นต้องบรรลุฉันทามติเกี่ยวกับการรับรองความมั่นคงทางทะเล อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ควรทำหน้าที่เป็นรากฐานทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางทะเล ด้าน Siswanto Rusdi ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการสถาบันการเดินเรือแห่งชาติอินโดนีเซีย ชี้ให้เห็นว่าจีนเป็นพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย ดังนั้นทั้งสองประเทศจะต้องยึดมั่นในความร่วมมือ ซึ่งอินโดนีเซียอาจพิจารณาจัดตั้งกองกำลังตำรวจทางทะเลแบบดั้งเดิมโดยอาศัยประสบการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต
Zheng Zhihua รองศาสตราจารย์จากศูนย์วิจัยญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง เพิ่มเติมว่าประเทศส่วนใหญ่ในแปซิฟิกใต้ดำเนินการกำหนดเขตแดนทางทะเลโดยอิงจากความคล้ายคลึงกันทางภูมิภาค มีการดำเนินการมากมายที่เกี่ยวข้องกับการอ้างสิทธิ์ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZs) และไหล่ทวีปตามแนวปะการัง สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักรก็มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันในแปซิฟิกใต้ การปฏิบัติเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับการอ้างสิทธิ์ทางทะเลสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับภูมิภาคทะเลจีนใต้ได้
Zou Keyuan ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยการเดินเรือต้าเหลียน ประเทศจีน กล่าวเสริมว่ามีหลายวิธีในการแก้ไขข้อพิพาท และวิธีการทางกฎหมายเป็นเพียงหนึ่งในตัวเลือกที่มีอยู่ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมอันหลากหลายในเอเชียตะวันออกส่งผลให้ไม่มีกลไกการแก้ไขข้อพิพาททางกฎหมายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้เน้นย้ำวิธีการทางกฎหมายในการแก้ไขข้อพิพาททะเลจีนใต้มากเกินไป
สำหรับ Natalie Klein ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ทิ้งท้ายถึงหลักเกณฑ์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการเดินเรือ รวมถึงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับทะเลอาณาเขตและทะเลหลวง อีกทั้งยังพยายามอธิบายความหมายและขอบเขตของเสรีภาพในการเดินเรือด้วย
Source : ความสงบเรียบร้อยในทะเลจีนใต้บนพื้นฐานของความมั่นคงร่วมและกฎหมายระหว่างประเทศ
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Siam News Network.