วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024

Trending

ดร. Ma Jun อธิบายถึงระบบจัดหมวดหมู่บนพื้นฐานร่วมที่ครอบคลุมหลายเขตอำนาจรัฐ ในระหว่างการประชุม COP

Share

บากู, อาเซอร์ไบจาน, 19 พฤศจิกายน 2567 /PRNewswire/ — เมื่อวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2567 ดร. Ma Jun ประธานร่วมของคณะทำงานด้านระบบจัดหมวดหมู่ของแพลตฟอร์มระหว่างประเทศว่าด้วยการเงินอย่างยั่งยืน (IPSF) และประธานของกลุ่มพันธมิตรการเสริมสร้างศักยภาพด้านการลงทุนอย่างยั่งยืน (Capacity-building Alliance of Sustainable Investment: CASI) ได้บรรยายในการเสวนาเกี่ยวกับการเงินอย่างยั่งยืนหลายรายการในระหว่างการประชุม COP29 โดยได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับระบบจัดหมวดหมู่บนพื้นฐานร่วมที่ครอบคลุมหลายเขตอำนาจรัฐ (Multi-Jurisdiction Common Taxonomy: MCGT) เขาชี้ว่าการเปิดตัวระบบ MCGT เป็นหมุดหมายสำคัญเพื่อเพิ่มความสอดคล้องและสามารถทำงานร่วมกันได้ของระบบจัดหมวดหมู่ในเขตอำนาจรัฐที่แตกต่างกัน และส่งเสริมการไหลเวียนของเงินทุนสีเขียวข้ามพรมแดน

ในการเสวนาที่จัดโดยแพลตฟอร์มระหว่างประเทศว่าด้วยการเงินอย่างยั่งยืน (International Platform on Sustainable Finance: IPSF) ดร. Ma ได้อธิบายถึงข้อพิจารณาสำคัญของความพยายามระดับนานาชาติเพื่อพัฒนา "ภาษาเดียวกัน" สำหรับใช้ระบุชี้และจัดหมวดหมู่กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาความเสี่ยงของการแบ่งแยกตลาดและต้นทุนการทำธุรกรรมอันเนื่องมาจากการขยายตัวของระบบจัดหมวดหมู่เพิ่มขึ้นตามเขตอำนาจรัฐที่แตกต่างกัน ในช่วงปี 2563 – 2565 คณะทำงานด้านระบบจัดหมวดหมู่ของ IPSF ซึ่งมีจีนและสหภาพยุโรปร่วมเป็นประธาน ได้เผยแพร่ระบบจัดหมวดหมู่บนพื้นฐานร่วม หรือ Common Ground Taxonomy (CGT) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 72 รายการที่ทั้งสองเขตเศรษฐกิจให้การยอมรับ นับตั้งแต่การเผยแพร่ CGT ในปี 2565 ผู้ออกตราสารในจีนได้นำระบบนี้ไปใช้จัดหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินสีเขียวที่ซื้อขายในระดับสากลและในประเทศ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนลงได้

ในปี 2566 สิงคโปร์ได้เข้าร่วมนำระบบ CGT ไปใช้ดำเนินการ และได้ร่วมมือกับสหภาพยุโรปและจีนเพื่อจัดทำระบบจัดหมวดหมู่บนพื้นฐานร่วมที่ครอบคลุมหลายเขตอำนาจรัฐ (MCGT) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมเพื่อบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 110 รายการที่ได้รับการยอมรับจากทั้งสามเขตอำนาจรัฐ ดร. Ma เชื่อว่า MCGT เป็น "หมุดหมายที่สำคัญครั้งใหม่เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกันได้ของระบบจัดหมวดหมู่ระหว่างเขตอำนาจรัฐต่าง ๆ" จากข้อเท็จจริงที่ว่ามีเขตอำนาจรัฐหลายแห่งนำระบบ CGT ไปใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบจัดหมวดหมู่ แสดงให้เห็นว่า MCGT ก็สามารถช่วยประเทศอื่นให้พัฒนาตลาดการเงินอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน

ในรายการเสวนาที่จัดโดยสเปนและคาซัคสถาน ดร. Ma ได้อภิปรายเกี่ยวกับการใช้งานที่สำคัญของระบบจัดหมวดหมู่ ซึ่งรวมถึงการกำหนดและจัดหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินสีเขียว การป้องกันการฟอกเขียว (greenwashing) การวัดผลและรายงานผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน และการจัดสรรสิ่งจูงใจเชิงนโยบายให้กับผู้ดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม เขาเน้นว่า เขตอำนาจรัฐแห่งอื่น ๆ ก็สามารถใช้ MCGT เป็นแนวทางอ้างอิงให้การพัฒนาระบบจัดหมวดหมู่ในประเทศของตนได้

ในงาน CASI Sustainability Forum for COP29 ซึ่งร่วมจัดโดยกลุ่ม CASI และ Azerbaijan University of Economics (UNEC) ดร. Ma ระบุว่า เพื่อยกระดับบทบาทระดับโลกของ MCGT ในการส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันได้ของระบบจัดหมวดหมู่ต่าง ๆ MCGT จึงมีแผนที่จะ "ขยายเพิ่มความครอบคลุมพื้นที่ โดยการเชิญประเทศอื่น ๆ ให้เข้าร่วมพัฒนา MCGT เวอร์ชันใหม่ในอนาคต"

Source : ดร. Ma Jun อธิบายถึงระบบจัดหมวดหมู่บนพื้นฐานร่วมที่ครอบคลุมหลายเขตอำนาจรัฐ ในระหว่างการประชุม COP

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Siam News Network.

Read more

Latest PR News